แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แสดงบทความทั้งหมด

ส.อ.ค. ย่อมาจากอะไร?

ส.อ.ค. ย่อมาจาก สมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
เว็บไซต์ https://www.facebook.com/eceathailand

สพฉ. ย่อมาจากอะไร?

สพฉ. ย่อมาจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เว็บไซต์ http://www.niems.go.th

สปท. ย่อมาจากอะไร?

สปท. ย่อมาจาก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
เว็บไซต์ -

สนช. ย่อมาจากอะไร?

สนช. ย่อมาจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เว็บไซต์ https://www.facebook.com/SenateThailand

สสช. ย่อมาจากอะไร?

สสช. ย่อมาจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เว็บไซต์ http://www.nso.go.th

สอศ. ย่อมาจากอะไร?

สอศ.. ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เว็บไซต์ http://www.vec.go.th

สลค.

สลค. ย่อมาจาก สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

สปช.

สปช. ย่อมาจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ

สทศ.

สทศ. ย่อมาจาก สำนักทดสอบทางการศึกษา
สำนักทดสอบทางการศึกษาเป็นองค์กรวิชาชีพชั้นสูงที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติในความเป็นผู้นำด้านการวิจัยพัฒนาและการให้บริการทางการทดสอบ และการประเมินผลทางการศึกษา ผลผลิตและบริการทางวิชาการของสำนักทดสอบทางการศึกษามีมาตรฐานระดับสากลในด้านความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือ ความเป็นธรรม และความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี
http://bet.obec.go.th/bet/

สคบ. ย่อมาจากอะไร?

สคบ. ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ระยะแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้มีเจ้าหน้าที่ของสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น องค์การอิสระ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จัดตั้งโดยสมาคมผู้บริโภค ของประเทศต่าง ๆ รวมตัวกันมีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เข้ามาชักชวน องค์การเอกชนในประเทศไทยให้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจาก องค์การเอกชน ของประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อม ที่จะดำเนินงานอย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ก็มิได้ย่อท้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที ่เข้ามาชักชวนอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในครั้งที่ 3 องค์การเอกชน ของประเทศไทยได้รับการชักชวน ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหา ของผู้บริโภคมีชื่อว่า กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภคใน ปี พ.ศ. 2514และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาในภาคเอกชน รวมทั้งได้ประสานงานกับภาครัฐ บาล จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2519 รัฐบาลสมัย คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานกรรมการชุดดังกล่าว ได้สลายตัวไปพร้อมกับรัฐบาลในยุคนั้นตามวิถีทางการเมือง
http://www.ocpb.go.th/

สสส.

สสส. ย่อมาจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สปสช.

สปสช. ย่อมาจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สปสช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ซึ่งมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และด้วยการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สปสช. จึงได้รับรางวัล ทุนหมุนเวียนดีเด่น จากกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551

นอกจากนี้ สปสช. ได้พัฒนาโครงสร้างการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต จำนวน แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดด้วยความสัมพันธ์แบบ partnershipในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัด ทั้งนี้เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงด้วยความมั่นใจและผู้ให้บริการมีความสุข
http://www.nhso.go.th/

ส.ส.ร.

สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (ส.ส.ร.) เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้รับการสรรหามาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,982 คน ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้า ฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[1]

สัดส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ มาจากบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน หากจำแนกตามภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 คน ภาคกลาง 68 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน และภาคใต้ 10 คน

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะคัดเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน 25 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ส.ป.ก.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เว็บไซต์ http://www.alro.go.th

ส.ล.ท

สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย

สรส.

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

สมช.

สภาความมั่นคงแห่งชาติ
http://www.nsc.go.th

สปท.

กลุ่มสันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย